ประเภทของการรำ

การรำแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. รำเดี่ยว คือการรำที่ใช้ผู้แสดงเพียงผู้เดียว เช่นการรำฉุยฉาย เป็นต้น

2. รำคู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 การรำคู่ในเชิงศิลปะการต่อสู้ เช่น รำกระบี่กระบอง รำกริช เป็นการรำที่ไม่มีบทร้องใช้ในการสลับฉาก

2.2 การรำคู่ในชุดสวยงาม เช่น พระลอตามไก่ หนุมานจับนางเบญจกาย จะมีคำร้องใช้ท่าทางในการแสดงความหมายนั้นๆ

3. การรำหมู่ เป็นการรำตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เช่น รำกลองยาว รำโคม เป็นต้น

 

นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับท่าทางในการรำ เป็นคำศัพท์ที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทยในที่นี่จะยกมาแค่บางตัวอย่างเท่านั้นลักษณะต่างๆของนาฏยศัพท์

 

1. ส่วนของศีรษะ

เอียง คือ การเอียงศีรษะ ต้องกลมกลืนกับไหล่และลำตัวให้เป็นเส้นโค้ง

ลักคอ คือ การเอียงคนละข้างกับไหล่ที่กดลง ถ้าเอียงซ้ายให้กดไหล่ขวา ถ้าเอียงขวาให้กดไหล่ซ้าย

เปิดคาง คือ ไม่ก้มหน้า เปิดปลายคางและทอดสายตาตรงสูงเท่าระดับตาตนเอง

กดคาง คือ ไม่เชิดหน้าหรือเงยหน้ามากเกินไป

2. ส่วนแขน

2.1 วงบน คือ ยกแขนไปข้างลำตัว ทอดศอกโค้ง มือแบ ตั้งปลายนิ้วขึ้นวงพระปลายนิ้วอยู่ระดับ

ศีรษะ ส่วนวงนางปลายนิ้วจะอยู่ระดับหางคิ้วและวงแคบกว่า

2.2 วงกลาง คือ การยกส่วนโค้งของลำแขนให้ปลายนิ้วสูงระดับไหล่ ลำแขนส่วนบนลาดกว่าวงบน

2.3 วงล่าง คือ การตั้งวงระดับต่ำที่สุด โดยทอดส่วนโค้งของลำแขนลงข้างล่างอยู่ระดับเอว โดยตั้งมือตรงหัวเข็มขัดตัวพระกันศอกให้ห่างตัว

3. ส่วนมือ

3.1 จีบหงาย คือ การหงายฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ขึ้น ถ้าอยู่ระดับหน้าท้องเรียกว่า จีบหงายชายพก

3.2จีบคว่ำ คือ การคว่ำฝ่ามือให้ปลายนิ้วชี้ลง หักข้อมือเข้าหาลำแขน

3.3 จีบปรกหน้า คือ การจีบที่คล้ายกับจีบหงาย แต่หันจีบเข้าหาลำตัวด้านหน้า ทั้งแขนและมือชูอยู่ด้านหน้าตั้งลำแขนขึ้น ทำมุมที่ข้อพับตรงศอก หันจีบเข้าหาหน้าผาก

3.4 จีบล่อแก้ว คือ ลักษณะกิริยาท่าทางคล้ายจีบ ใช้นิ้วกลางกดข้อที่ ๑ ของนิ้วหัวแม่มือ หักปลายนิ้วหัวแม่มือคล้ายวงแหวน นิ้วที่เหลือเหยียดตึง หักข้อมือเข้าหาลำแขน

4. ส่วนลำตัว

เผ่นตัว คือ กิริยาอาการทรงตัวชนิดหนึ่ง มาจากท่าก้าวเท้า แล้วส่งตัวขึ้น โดยการยกเข่าตึงเท้าหนึ่งยืนรับน้ำหนักอีกเท้าหนึ่งอยู่ข้างๆ

ดึงไหล่ คือ การรำหลังตึง หรือดันหลังขึ้น ไม่ปล่อยให้ไหล่ค่อม

กดไหล่ คือ กิริยากดไหล่โน้มตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง ทำพร้อมกับการเอียงศีรษะ กดลงเฉพาะไหล่ ไม่ให้สะโพกเอียงไปด้วย

5. ส่วนขา

5.1 กระดกหลัง กระทุ้งเท้าแล้วถีบเข่าไปข้างหลังมากๆ ให้เข่าทั้งสองข้างแยกห่างจากกันให้ส้นเท้าชิดก้นมากที่สุด หักปลายเท้าลง ย่อเข่าที่ยืน ตัวพระต้องกันเข่าด้วย

5.2 กระดกเสี้ยว คล้ายกระดกหลัง แต่เบี่ยงขามาข้างๆและไม่ต้องกระทุ้งเท้า มักทำเนื่องต่อจากการก้าวข้างหรือท่านั่งกระดกเท้า

ใส่ความเห็น